การนอนหลับพักผ่อนที่มีคุณภาพไม่ได้ขึ้นอยู่แค่ “จำนวนชั่วโมง” เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของที่นอน” ด้วยเช่นกัน เพราะที่นอนที่ไม่เหมาะสมกับสรีระอาจเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลัง ปวดคอ หลับไม่ลึก หรือตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่นก็ได้ วันนี้ Nooz Sleep จะชวนไปดูวิธีเลือกที่นอนให้เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ให้คุณนอนหลับได้ลึก ตื่นมาอย่างสดชื่นในเช้าวันใหม่
เช็คลิสก่อนซื้อที่นอนให้เหมาะกับร่างกาย
การเลือกที่นอนที่เหมาะกับสรีระต้องพิจารณาปัจจัยหลัก 3 ข้อ
1. ประเมินน้ำหนักตัว น้ำหนักของผู้ใช้งานมีผลต่อแรงกดบนที่นอน
-
คนผอมหรือน้ำหนักเบา อาจต้องใช้ที่นอนนุ่มเพื่อให้กระจายน้ำหนักได้ดี
-
คนอ้วนหรือน้ำหนักมาก ต้องใช้ที่นอนแน่นและมีความยืดหยุ่น เพื่อรองรับแรงกดได้โดยไม่ยุบตัวเกินไป
2. ท่านอน
-
คนนอนหงาย ควรใช้ที่นอนที่ไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป เพื่อรองรับกระดูกสันหลังในแนวตรง
-
คนนอนตะแคง ต้องการที่นอนนุ่มระดับหนึ่งเพื่อรองรับสะโพกและไหล่
-
คนนอนคว่ำ ควรหลีกเลี่ยงที่นอนนุ่มมาก เพราะอาจทำให้หลังแอ่น
3. ปัญหาสุขภาพ
-
คนที่มีอาการปวดหลัง ควรเลือกที่นอนที่มีความแน่นระดับกลางถึงแน่น (medium-firm)
-
หากมีอาการปวดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ ควรเลือกที่นอนที่ช่วยลดแรงกดจุดต่าง ๆ เช่น memory foam
ที่นอนสำหรับ “คนน้ำหนักตัวน้อย”
ปัญหาการนอนของคนน้ำหนักตัวน้อย
- เมื่อน้ำหนักเบาทำให้ แรงกดลงบนที่นอนไม่มากพอ ที่นอนที่แน่นหรือแข็งเกินไปจะไม่ยุบตัวตามแนวโค้งของร่างกาย ส่งผลให้เกิด แรงกดทับจุดเล็กๆ เช่น ไหล่ สะโพก ทำให้ปวดเมื่อย
- หลับไม่สนิท เพราะร่างกายรู้สึกไม่สบายขณะนอน
- กระดูกสันหลังไม่อยู่ในแนวตรง เมื่อที่นอนไม่รองรับตามสรีระ ส่งผลต่ออาการปวดหลังระยะยาว
ที่นอนแน่นหรือนุ่ม เหมาะกับคนน้ำหนักตัวน้อย ?
คำตอบ : ควรเลือกที่นอนนุ่มถึงนุ่มปานกลาง (Soft to Medium)
-
ที่นอนนุ่มจะ ยุบตัวได้มากพอ ที่จะโอบรับแนวโค้งของสรีระ
-
ช่วยกระจายน้ำหนักในจุดสัมผัสได้ดี เช่น ไหล่ สะโพก
-
ลดแรงกดทับและช่วยให้นอนหลับได้ลึกมากขึ้น
วัสดุที่นอนแนะนำสำหรับคนน้ำหนักตัวน้อย
- ที่นอน Memory Foam ยุบตามแรงกดและรูปร่างได้ดีมาก รองรับโค้งเว้าของร่างกาย ช่วยให้หลับลึกขึ้น
- ที่นอนยางพารา Latex (ยางพาราแบบนุ่ม) ยืดหยุ่น รองรับร่างกายดี คืนตัวเร็ว ไม่จมลึกเกินไป เหมาะกับคนที่พลิกตัวบ่อย
- ที่นอน Hybrid (สปริง + โฟมหรือยางพารา) ได้ความยืดหยุ่นของสปริง+ความสบายของวัสดุด้านบน เลือกแบบที่ชั้นบนไม่แน่นเกินไป
ที่นอนสำหรับ “คนอ้วน” หรือมีน้ำหนักตัวมาก
ปัญหาคนการนอนที่นอนของคนน้ำหนักตัวเยอะ
-
ที่นอนยุบตัวมากเกินไป น้ำหนักที่กดลงมากทำให้ที่นอนจมลึก เสี่ยงต่อการจัดแนวกระดูกผิดรูป
-
ปวดหลัง–ปวดข้อ เมื่อที่นอนไม่รองรับสะโพกหรือหลังได้ดี จะเกิดแรงกดทับสะสม ทำให้ปวดเมื่อตื่น
-
พลิกตัวยาก ที่นอนนิ่มเกินไปอาจทำให้พลิกตัวลำบาก รบกวนวงจรการนอน
-
ร้อนง่าย–อับชื้น น้ำหนักมากสัมพันธ์กับอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น ทำให้นอนร้อน เหงื่อออกง่าย
-
ที่นอนเสื่อมสภาพเร็ว การรับน้ำหนักมากทำให้ที่นอนยุบถาวรหรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ
ที่นอนแน่นหรือนุ่ม เหมาะกับคนน้ำหนักตัวเยอะ?
คำตอบ : ควรเลือกที่นอนแน่นระดับกลางถึงแน่น (Medium-Firm ถึง Firm)
-
รองรับน้ำหนักได้ดี : ที่นอนแน่นจะไม่ยุบตัวลึกจนหลังแอ่นหรือกระดูกสันหลังโค้งผิดรูป
-
ช่วยจัดแนวกระดูกสันหลังให้ตรง : ลดความเสี่ยงปวดหลัง/ปวดเอว
-
กระจายน้ำหนักได้ทั่วถึง : โดยเฉพาะจุดกดทับอย่างสะโพก ไหล่ หลัง
-
ยืดอายุการใช้งานของที่นอน : ไม่เสื่อมเร็วเหมือนที่นอนนิ่มที่รองรับน้ำหนักมากไม่ได้
วัสดุที่แนะนำ
-
ที่นอนยางพารา : ยืดหยุ่น รองรับดี ไม่ร้อน ไม่ยุบง่าย
-
ที่นอน High-Density Foam : โฟมความหนาแน่นสูง ไม่จมลึกเกิน
-
ที่นอน Pocket Spring เสริมพิเศษ : รองรับแยกส่วน ลดแรงสั่นสะเทือน
เลือกที่นอนให้เหมาะกับสรีระ เพราะการนอนดี เริ่มต้นที่การรองรับที่ถูกต้อง
การนอนหลับพักผ่อนที่มีคุณภาพ ไม่ได้ขึ้นอยู่แค่ “จำนวนชั่วโมง” เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับ “คุณภาพของที่นอน” ด้วย เพราะที่นอนที่ไม่รองรับสรีระอย่างเหมาะสม อาจเป็นต้นเหตุของอาการปวดหลัง ปวดคอ หลับไม่ลึก หรือตื่นมาแล้วไม่สดชื่น เพื่อให้คุณนอนหลับลึกและตื่นมาพร้อมพลังเต็มที่ Nooz Sleep ได้ออกแบบที่นอนที่เข้าใจความแตกต่างของ “สรีระแต่ละคน” โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะน้ำหนักตัวแบบไหนก็เข้าใจความต้องการของคุณ ด้วยที่นอนที่มีให้เลือกได้ตามสไตล์ สามารถเข้าไปดูสินค้าหรือเช็คโปรโมชั่นได้ที่ >> Nooz Sleep